เรื่อง : เขาวังหมีหรือเข้าหน้าวังหมี
[ มีผู้อ่าน : 32 ครั้ง ]

ความเป็นมา : เขาหน้าวังหมีเป็นภูเขาหินปูนลูกโดดในแนวเทือกเขาหินปูนในกลุ่มหินราชบุรี ภูเขามีความยาวตลอดแนวเหนือ-ใต้ประมาณ 900 เมตร ภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 40-140 เมตร และตั้งอยู่ใกล้แหล่งโบราณคดีถ้ำหลังโรงเรียนทับปริก ปัจจุบันมีต้นไม้ขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไป พื้นที่โดยรอบภูเขาเป็นที่ราบที่เกิดจากการทับถมของตะกอนเชิงเขาและตะกอนผุพังอยู่กับที่ ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 20 เมตร ปัจจุบันเป็นสวนยางพารา สวนปาล์ม และพื้นที่อยู่อาศัยของราษฎร
ด้านทิศเหนือของเขาหน้าวังหมี มีคลองหญ้าไทรไหลผ่าน คลองหญ้าไทรนี้จะไหลไปทางทิศใต้รวมกับคลองกระบี่ใหญ่ ไหลออกสู่คลองปากน้ำกระบี่และทะเลอันดามันในที่สุด ปัจจุบันชายฝั่งทะเลอันดามันอยู่ห่างจากเขาหน้าวังหมีไปทางทิศใต้และทิศตะวันออกประมาณ 13 กิโลเมตร
หลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบ มีหลายประเภท เช่น พบชั้นขี้เถ้ารวมกับเศษภาชนะดินเผา เปลือกหอยทะล กระดูกสัตว์ เศษภาชนะดินเผาเนื้อดินธรรมดาลายเชือกทาบ เศษภาชนะดินเผาเนื้อดินธรรมดาเคลือบน้ำดิน เศษภาชนะดินเผาเนื้อดินธรรมดาสีแดงผิวสีดำขัดมัน เปลือกหอยทะเ เปลือกหอยโข่งภูเขา กระดองเต่านาพรุ กระดูกสัตว์ เขี้ยวสัตว์ กระดูกสันหลังสัตว์ ต่อมีในในปี พ.ศ.2550 ห้างหุ้นส่วนจำกัดจิตรปฏิมา ทำการขุดค้นทางโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม พบหลักฐานอีกเป็นจำนวนมาก เช่น เศษภาชนะดินเผาตกแต่งผิวด้วยวิธีการต่างๆ ภาชนะทรงพาน แกนหิน และสะเก็ดหิน แกนหิน slit stone และสะเก็ดหิน Chert หินลับ มีร่องรอยกขัดฝนปรากฏอยู่ ชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ เปลือกหอยชนิดต่างๆ ก้ามปู เครื่องมือกระดูก โครงกระดูกมนุษย์ และเศษถ่านกระจายอยู่ในสภาพแวดล้อม หลักฐานสำคัญโดยเฉพาะภาชนะดินเผาทรงพาน บ่งบอกว่าน่าจะมีอายุไล่เรรียกับแหล่งโบราณคดีถ้ำหลังโรงเรียนทับปริก คือ ยุคหินใหม่
ขั้นตอน/วิธีทำ : -
วัสดุ/อุปกรณ์ : -
การเรียนรู้ : -
การถ่ายทอด : -
ประโยชนต่อการเรียนรู้ : -
พื้นที่/สถานที่ : -
กลุ่มสาระการเรียนรู้ : สังคม
ขั้นตอน/วิธีทำ : -
วัสดุ/อุปกรณ์ : -
การเรียนรู้ : -
การถ่ายทอด : -
ประโยชนต่อการเรียนรู้ : -
พื้นที่/สถานที่ : -
กลุ่มสาระการเรียนรู้ : สังคม