เรื่อง : เขาหงอนนาค
[ มีผู้อ่าน : 23 ครั้ง ]
ดูพิกัดเขาหงอนนาค
ความเป็นมา : กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีครอบครัวหนึ่ง ชื่อ “ตายมดึง”อาศัยอยู่ริมทะเลกันมาหลายปีก็ไม่มีวี่แววว่าจะมีลูกเหมือนครอบครัวอื่นๆ เกรงว่ายามแก่เฒ่าจะลำบากยิ่งนัก จึงไปบนบานขอลูกจากพญานาค และมีสัญญาว่าเมื่อลูกโตขึ้นเป็นสาวจะต้องยกให้เป็นเมียพญานาค ต่อมาไม่นานครอบครัวก็ได้ลูกสาวน่ารัก 1 คน ได้ตั้งชื่อว่า “ลูกนาง” เมื่อเด็กหญิงโตเป็นสาวเกิดรักใคร่ชอบพอกับหนุ่มน้อยรูปงามแถวหมู่บ้านเดียวกัน ซึ่งเป็นลูกตาวาปราบ”บุญ”ในที่สุดครอบครัวตายมดึง และครอบครัวตาวาปราบ จึงจำเป็นต้องจัดงานแต่งงานให้ นางและบุญ ทั้งๆที่ไม่เต็มใจ เมื่อพญานาคได้ทราบข่าวก็โกรธแค้นที่ครอบครัวตายมดึงไม่รักษาสัญญา ที่ว่าจะให้ลูกสาวแต่งงานกับลูกชายของตน ในวันแต่งงานพญานาคจึงจำแลงกายเป็นมนุษย์เข้าแย่งชิงตัวนาง การต่อสู้เป็นไปอย่างดุเดือด และทรหดทั้งคู่ใช้เวลาต่อสู้ข้ามวัน ข้ามคืน และข้ามปี การต่อสู้ทุกครั้งทำให้เกิดพายุกระหน่ำทุกครั้งที่ทั้งสองต่อสู้กัน จนชาวบ้านเดือดร้อนทำมาหากินไม่ได้ จะหลับจะนอนต้องมาฟังเสียงสู้รบกัน ทุกคนพากันหวาดผวาไม่เป็นอันทำมาหากิน ไม่ได้หลับไม่ได้นอน ต่อมาฤาษีซึ่งบำเพ็ญตบะอยู่ ได้ออกมาห้ามปรามแต่ก็ไม่มีใครฟัง สุดท้ายฤาษี จึงได้สาปทุกอย่างให้กลายเป็นหิน เรือนหอกลายเป็น “ถ้ำพระนาง” ข้าวเหนียวกวนขันหมากกลายเป็น “สุสานหอย” ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆกลายเป็น “เกาะหม้อ” “เกาะทัพ” และเกาะอื่นๆในเขตใกล้เคียงตำบลหนองทะเล ส่วนพญานาคกลายเป็น “เขาหงอนนาค”และ “แหลมหางนาค” “น้ำตานาค” เป็นบ่อๆน้ำเล็กๆที่มีน้ำใสไหลตลอดทั้งปี อยู่บนเขาหงอนนาคชาวบ้านเชื่อว่าเมื่อได้อธิษฐานขอพรจากโต๊ะนาคพร้อมดื่มน้ำนี้ จะได้สมปรารถนาในสิ่งที่ขอและถือเป็นสิริมงคลของชีวิต ส่วนพญานาคผู้เป็นพ่อโดนตัดหงอนขาดกระเด็นมาตกกลางหมู่บ้าน จนมาเป็นชื่อหมู่บ้าน “เขากลม”และยังมีสถานที่น่าสนใจได้แก่ “สะดือนาค”ซึ่งเป็นบ่อน้ำเล็กๆและมีน้ำไหลตลอดปีเช่นเดียวกัน เชื่อกันว่าทั้งน้ำตานาคาและสะดือนาค นั้นเป็นน้ำที่มาจากแหล่งเดียวกัน แต่สถานที่ของบ่อน้ำทั้ง 2 นั้นห่างกันมาก โดยมีการเชื่อมต่อตามแนวภูเขาซึ่งเชื่อว่าเป็นลำตัวพญานาคที่ทอดยาวออกไป จากหงอนนาคจนถึงสะดือนาค และแหลมหางนาค อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 ของตำบลหนองทะเล เลือดพญานาค ก็เป็นหมู่บ้าน “ดินแดงน้อย”สถานที่สู้รบก็เป็น “บึงหนองทะเล”ส่วนบริวารของพญานาคและบรรดาเพื่อนๆ ของนายบุญ ก็กลายเป็นหินเช่นกัน เช่น “เกาะกวาง” “แหลมหมูกควาย”ในปัจจุบัน
ขั้นตอน/วิธีทำ : -
วัสดุ/อุปกรณ์ : -
การเรียนรู้ : -
การถ่ายทอด : -
ประโยชนต่อการเรียนรู้ : -
พื้นที่/สถานที่ : -
กลุ่มสาระการเรียนรู้ : สังคมศึกษา
ขั้นตอน/วิธีทำ : -
วัสดุ/อุปกรณ์ : -
การเรียนรู้ : -
การถ่ายทอด : -
ประโยชนต่อการเรียนรู้ : -
พื้นที่/สถานที่ : -
กลุ่มสาระการเรียนรู้ : สังคมศึกษา