เรื่อง : ชุมชนท่องเที่ยวแหลมสัก
[ มีผู้อ่าน : 14 ครั้ง ]
ดูพิกัดชุมชนท่องเที่ยวแหลมสัก
ความเป็นมา : ย้อนกลับไปเมื่อหลายศตวรรษก่อน ในยุคที่ชาวจีนฮกเกี้ยนเริ่มอพยพย้ายถิ่นฐานหนีหนาวและความแร้นแค้นลงมาตามคาบสมุทรอินโดจีน จนมาถึงปลายด้ามขวานของประเทศไทยที่ฝั่งตะวันออก เป็นเวลาเดียวกับที่ชาวมุสลิมจากเมืองปะลิดของประเทศมาเลเซียขึ้นฝั่งทางด้านตะวันตก และชาวไทยพุทธเริ่มเดินทางลงมาจากด้านเหนือ พื้นที่ตรงนี้เองคือจุดกำเนิดของเรื่องเล่าแห่งอำเภอแหลมสัก ที่ในภายหลังเริ่มมีการแต่งงานข้ามหมู่บ้าน ข้ามเชื้อชาติ ข้ามศาสนา มีการแลกเปลี่ยนสินค้าและวัฒนธรรม ตามมาด้วยการไปมาหาสู่กันจนคุ้นชิน เกิดเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวเลฝั่งอันดามัน ที่น่าค้นหาพอ ๆ กันกับไข่มุกแห่งอันดามันใต้ทะเลลึก
พื้นที่จุดตัดทางด้านวัฒนธรรมที่เหล่าชาวบ้านทั้งสามวัฒนธรรมถูกหลอมรวมเป็นหนึ่งแห่งนี้กอปรไปด้วยความหลากหลาย ทั้งในด้านความเชื่อ พื้นเพอาหารการกิน รวมไปถึงเครื่องนุ่งห่มและงานศิลปะ หากแต่ทั้งสามเชื้อชาติก็ต่างมีวิถีชีวิตที่พึ่งพาอาศัยและอยู่ร่วมกันได้มาเป็นเวลานานเกือบร้อยปีแล้ว ด้วยความที่ทั้งสามวัฒนธรรมต่างพึ่งพาอาศัยกัน จุดท่องเที่ยวสำคัญของแต่ละเชื้อชาติอย่างศาลเจ้าซกโป้ซี่เอ๋ยของชาวบาบ๋าย่าหยา หรือชาวไทยเชื้อสายจีน เลยอยู่ห่างเพียง 150-200 เมตรจากวัดมหาธาตุแหลมสัก และมัสยิดซอลาฮุดดีน จากที่นั่นก็สามารถ ลัดเลาะผ่านผืนป่าดิบชื้นเข้าไปด้านในบริเวณเขาช้างหมอบเพื่อทำกิจกรรมสุดพิเศษที่สามารถเข้าร่วมได้ทุกฤดูกาล นั่นคือการนำรองเท้านารีเหลืองกระบี่ กล้วยไม้พันธุ์พื้นเมืองที่กำลังใกล้สูญพันธุ์กลับคืนสู่ป่า พายเรือคายักชมป่าโกงกางและล่องเรือทะลุไปอุทยานทางทะเลอ่าวลึก เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตชาวประมงแท้ ๆ อาทิ การทำฟาร์มปลา ฟาร์มกุ้งมังกร การเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น ไปจนถึงการทำผ้าบาติกตามสไตล์ชาวเล และการประกอบอาหารอย่างข้าวคลุกกะปิและขนมจากมะพร้าวและใบจาก
วัฒนธรรมและมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น
1. แหลมสักเป็นดินแดน 3 วัฒนธรรม ที่อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขมากกว่า 100 ปี จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ ไทยพุทธ ไทยมุสลิม และไทยเชื้อสายจีน (บาบ๋าย่าหยา)
2. มีสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมและความศรัทธา ทั้ง 3 วัฒนธรรม ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้กัน ได้แก่ วัดมหาธาตุแหลมสัก (ไทยพุทธ), มัสยิดซอลาฮุดดีน (ไทยมุสลิม), และศาลเจ้าซกโป้ซี่เอี๋ย (บาบ๋าย่าหยา) โดยมีสามแยกวัฒนธรรมเป็นศูนย์กลางห่างจากแต่ละที่เที่ยว 150-200 เมตร
3. มีชุมชนมุสลิมชายฝั่ง และชุมชนบาบ๋า อยู่บนถนนแต่ละสายจากสามแยกวัฒนธรรม
4. มีชุดแต่งกายที่เป็นอัตลักษณ์ของไทยมุสลิม และบาบ๋าย่าหยา
5. มีอาหารและขนมที่เป็นอัตลักษณ์ของบาบ๋าย่าหยา
6. มีอาคารสไตล์ชิโนโปรตุกีส ซึ่งบ่งบอกถึงวัฒนธรรมบาบ๋าย่าหยา
ขั้นตอน/วิธีทำ : -
วัสดุ/อุปกรณ์ : -
การเรียนรู้ : -
การถ่ายทอด : -
ประโยชนต่อการเรียนรู้ : -
พื้นที่/สถานที่ : -
กลุ่มสาระการเรียนรู้ : สังคมศึกษา
ขั้นตอน/วิธีทำ : -
วัสดุ/อุปกรณ์ : -
การเรียนรู้ : -
การถ่ายทอด : -
ประโยชนต่อการเรียนรู้ : -
พื้นที่/สถานที่ : -
กลุ่มสาระการเรียนรู้ : สังคมศึกษา